หน้าหลัก
แนะนำรายวิชา
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน
บทที่ 1 ภาษาคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 แนวคิดการโปรแกรม
บทที่ 3 ผังงาน
บทที่ 4 รหัสเทียม
บทที่ 5 โครงสร้างภาษาซี
บทที่ 6 ติดตั้งโปรแกรม Dev-c++
บทที่ 7 ตัวแปรภาษาซี
บทที่ 8 ตัวดำเนินการภาษาซี
บทที่ 9 การแสดงผล
บทที่10 การรับข้อมูล
บทที่ 11 การเลือกทำตามเงื่อนไข
บทที่ 12 คำสั่งวนซ้ำ
แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์หลังเรียน
แหล่งศึกษาเพิ่มเติม

 

ขั้นตอนการสร้างโปรแกรมในภาษาซีมีขั้นตอนดังนี้
 1. สร้างตัวโปรแกรมที่เป็นตัวอักษรหรือเรียกว่า ซอร์สไฟล์ (Source file) โดยมีนามสกุลเป็น .c หรือ .cpp
โดยใช้โปรแกรมที่สามารถเขียนไฟล์ที่เก็บอักขระ (Editor) ใด ๆ ก็ได้ เช่น Notepage, Dev-C++, Visaul Basic C เป็นต้น
ให้อยู่ในรูปแบบของการโปรแกรมภาษา
 
  2. คอมไพล์เลอร์ของภาษาซี (C Compiler) (กด F9)
การแปลงซอร์สไฟล์ จากอักขระใด ๆ ให้เป็นรหัสที่เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถเข้าใจได้เก็บไว้ในอีกไฟล์หนึ่งเรียกว่า
ไฟล์วัตถุประสงค์ (Object file) ที่มีนามสกุล .obj (ขั้นตอนนี้เรียกว่า การคอมไพล์ เป็นการแปลงภาษามนุษย์เป็นภาษาเครื่อง)

ซึ่งในขั้นตอนนี้โปรแกรมต้นฉบับอาจเกิดความผิดพลาด ซึ่งมีการผิดพลาด 3 ประเภท ได้แก่

               2.1 syntax error เป็นความผิดพลาด (error) ทางไวยกรณ์ภาษา เช่น สะกดผิด, ใช้ space ผิดที่, ผิดลำดับ
               2.2 Run-time errors เป็นความผิดพลาด (error) ที่จะเกิดขึ้นตอน run โปรแกรมส่วนใหญ่เกิดจากที่โปรแกรม
พยายามเรียกใช้ เช่น ตัวแปร, function, ไฟล์ที่ไม่มีอยู่, การหารด้วย 0
              2.3 Logic Errors เป็นความผิดพลาด (error) ที่เกิดจาก logic ในการเขียน program เช่น
                   code $meter = $centimeter * 1000; พิม 0 เกินไป 1 ตัว (ที่ถูกต้อง ต้องเป็น $meter = $centimeter * 100;)
จึงต้องย้อนกลับไปแก้ไขโปรแกรมต้นฉบับในข้อ 1. ให้ถูกต้องเสียก่อน
3. ตัวเชื่อม (Linker) จะทำการตรวจสอบว่าในโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้น มีการเรียกใช้งานฟังก์ชันมาตรฐานใด
จากห้องสมุดของภาษาซี (C Library) หรือไม่ถ้ามี ตัวเชื่อมจะทำการรวมเอาฟังก์ชันเหล่านั้นเข้ากับไฟล์วัตถุประสงค์ (Object file)
แล้วจะได้ไฟล์ที่สามารถทำงานได้ โดยมีนามสกุลเป็น .exe (ขั้นตอนนี้เรียกว่า การลิงค์ เป็นการรวมฟังก์ชันสำเร็จรูปเข้าไป
แล้วสร้างไฟล์ที่ทำงานได้)
 4. สั่งให้ execute program แสดงผลลัพธ์ออกมา โดยใช้คำสั่ง run (กด F10) ในขั้นตอนนี้ผู้เขียนโปรแกรม ควรตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้
ถ้าผลลัพธ์ที่ได้ไม่ตรงกับความต้องการให้กลับไปแก้ไขโปรแกรมต้นฉบับ ในข้อ 1.เสร็จแล้วทำขั้นตอน ข้อ 2. ถึง ข้อ 4. ซ้ำอีก
ทำซ้ำเช่นนี้จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ