หน้าหลัก
แนะนำรายวิชา
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน
บทที่ 1 ภาษาคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 แนวคิดการโปรแกรม
บทที่ 3 ผังงาน
บทที่ 4 รหัสเทียม
บทที่ 5 โครงสร้างภาษาซี
บทที่ 6 ติดตั้งโปรแกรม Dev-c
บทที่ 7 ตัวแปรภาษาซี
บทที่ 8 ตัวดำเนินการภาษาซี
บทที่ 9 แสดงผล/รับข้อมูล
บทที่10 ควบคุมการแสดงผล
บทที่ 11 การเลือกทำตามเงื่อนไข
บทที่ 12 คำสั่งวนซ้ำ
แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์หลังเรียน
แหล่งศึกษาเพิ่มเติม

 

          ในการพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษา C ควรเริ่มต้นเรียนรู้ และทำความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับตัวแปรและชนิดของข้อมูล
ความแตกต่างของข้อมูล แต่ละชนิด
 
          ตัวแปร (Variable) คือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนค่าของข้อมูลในการเขียนโปรแกรม ซึ่งข้อมูลนั้นจะเป็นตัวหนังสือ หรือตัวเลขก็ได้
จะเป็นการจองพื้นที่ของหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลตามรูปแบบและชนิดของตัวแปรถ้ามีการประกาศตัวแปรคอมไพเลอร์จะทำการจองพื้นที่
ของหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลดังภาพ

            

ถ้ากำหนดค่าให้ตัวแปร หมายความว่าข้อมูลถูกเก็บไว้ในพื้นที่ของหน่วยความจำที่จองไว้

            

จากรูปหมายความว่า ตัวแปร str มีค่าเท่ากับ DKTSCHO

 

ชนิดของตัวแปร
             1. ตัวแปรสาธารณะ (Global Variable) คือ ตัวแปรที่ประกาศไว้นอกฟังก์ชันใด ๆ ซึ่งทุกฟังก์ชันสามารถนำตัวแปรไปใช้ได้

 

ตัวอย่าง การหาพื้นที่ สี่เหลี่ยมผืนผ้า

บรรทัดที่ 1 เป็นการระบุให้นำไฟล์ stdio.h มารวมกับไฟล์นี้ เพื่อที่จะสามารถใช้คำสั่งที่อยู่ในไฟล์นี้มาใช้งานได้ต้องขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # เสมอ
บรรทัดที่ 3 ประกาศตัวแปร ชื่อ height, width, area ที่ทุกฟังก์ชั่นสามารถนำไปใช้ได้
บรรทัดที่ 4-5 เริ่มต้นด้วยฟังก์ชัน main () แล้วใส่เครื่องหมายกำหนดขอบเขตเริ่มต้นของตัวโปรแกรมคือ { หลังจากนั้นใส่คำสั่งหรือฟังก์ชันต่างๆโดยแต่ล่ะคำสั่งหรือฟังก์ชันนั้นๆ จะต้องปิดด้วยเครื่องหมาย ;
บรรทัดที่ 6 ให้ตัวแปร height = 6
บรรทัดที่ 7 ให้ตัวแปร width = 5
บรรทัดที่ 8 ให้ตัวแปร area = height * width
บรรทัดที่ 9 แสดงผลข้อมูลบนจอภาพ คำว่า square area is = area ที่เป็นจำนวนเต็ม
บรรทัดที่ 10 จบโปรแกรม
   

 

2. ตัวแปรเฉพาะที่หรือตัวแปรส่วนตัว (Local Variable) คือตัวแปรที่กำหนดหรือประกาศไว้ในฟังก์ชันใดฟังก์ชันหนึ่งและสามารถใช้ได้เฉพาะ
ในฟังก์ชันนั้น ๆ เท่านั้น

 

บรรทัดที่ 1 เป็นการระบุให้นำไฟล์ stdio.h มารวมกับไฟล์นี้ เพื่อที่จะสามารถใช้คำสั่งที่อยู่ในไฟล์นี้มาใช้งานได้ต้องขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # เสมอ
บรรทัดที่ 3-4 เริ่มต้นด้วยฟังก์ชัน main () แล้วใส่เครื่องหมายกำหนดขอบเขตเริ่มต้นของตัวโปรแกรมคือ { หลังจากนั้นใส่คำสั่งหรือฟังก์ชันต่างๆโดยแต่ล่ะคำสั่งหรือฟังก์ชันนั้นๆ จะต้องปิดด้วยเครื่องหมาย ;
บรรทัดที่ 5 ประกาศตัวแปร ชื่อ height = 6, width = 5, area ที่ทุกฟังก์ชั่นสามารถนำไปใช้ได้
บรรทัดที่ 6 ให้ตัวแปร area = height * width
บรรทัดที่ 7 แสดงผลข้อมูลบนจอภาพ คำว่า square area is = area ที่เป็นจำนวนเต็ม
บรรทัดที่ 8 จบโปรแกรม
   

 

กฎการตั้งชื่อตัวแปรในภาษาซี
            การตั้งชื่อตัวแปร จะต้องเป็นไปตามหลักการตั้งชื่อของภาษาซี และชื่อที่เหมาะสม ควรเป็นชื่อที่สื่อความหมาย
ซึ่งกฎในการตั้งชื่อจะรวมไปถึงการตั้งชื่อให้กับฟังก์ชัน ค่าคงที่ และชื่ออื่น ๆ ในภาษา C มีดังนี้
 
  1. ชื่อตัวแปรจะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรหรือเครื่องหมาย _ (Underscore) เท่านั้น จะขึ้นต้นด้วยตัวเลขหรือเครื่องหมายอื่นไม่ได้
  แต่ภายในชื่อสามารถใช้ตัวอักษร หรือเครื่องหมาย _ (Underscore) หรือตัวเลขก็ได้
  2. ชื่อตัวแปรจะประกอบด้วยตัวอักขระพิเศษไม่ได้ เช่น @, #, $, %, &
  3. ภายในชื่อตัวแปรจะมีช่องว่างหรือแท็บไม่ได้
  4. ชื่อตัวแปรในภาษาซี เป็นแบบ Case-Sensitive คือ ตัวอักษรตัวใหญ่และตัวอักษรตัวเล็กจะถือว่าเป็นคนละตัว เช่น DKT, dkt, Dkt
  จะถือว่าเป็นคนละชื่อกัน
  5. ชื่อตัวแปรต้องไม่ซ้ำกับคำสงวน
   
   
            คำสงวน (Reserved Words) หมายถึง คำที่สงวนไว้สำหรับเรียกใช้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เฉพาะ เช่น

 คำที่ใช้ในคำสั่งควบคุมและชนิดของข้อมูล เป็นต้น คำสงวนในภาษา C มีดังนี้

 

auto
double
int
struct
break
else
long
switch
case
enum
register
typedef
char
extern
return
union
const
float
short
unsigned
continue
for
signed
void
default
goto
sizeof
volatile
do
if
static
while
   
        การตั้งชื่อใด ๆ ในภาษา C ควรให้สื่อความหมาย เพื่อให้สามารถรู้ได้ว่าชื่อนั้นหมายถึงอะไร เพราะถ้าโปรแกรมมีขนาดใหญ่
หรือเขียนกันหลายๆ คน จะทำให้สามารถเข้าใจได้ตรงกัน

 

    

             

                    ค่าคงที่ (Constants) คือ ค่าข้อมูลชนิดใดชนิดหนึ่งที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในขณะที่โปรแกรมทำงาน
          1. ระบุค่าโดยตรง (Literal Constants) เป็นการกำหนดค่าคงที่เพื่อใช้งานโดยตรงโดยไม่มีการกำหนดค่าผ่านตัวแปรใด ๆ ทั้งสิ้น
                   

ตัวอย่าง

 

          2. การประกาศค่าคงที่ด้วย #define เป็นการกำหนดค่าคงที่โดยการประกาศใช้งานไว้ในส่วนของเฮดเดอร์ไฟล์
ของโปรแกรมในลักษณะของ Preprocessing Directive โดยมีรูปแบบดังนี้

     

                  ตัวอย่าง

           จากตัวอย่างอธิบายได้ว่า การกำหนดค่าคงที่ให้ PI = 3.14 เมื่อมีการประมวลผลคอมพิวเตอร์ PI จะเท่ากับ 3.14
 
           3. การเก็บไว้ในตัวแปร (Memory Constant) คือ การกำหนดค่าคงที่ให้กับตัวแปร และตัวแปรที่ถูกกำหนดค่าให้นี้
 จะมีค่าคงที่ให้ตลอดการทำงานของโปรแกรม ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าที่ได้